บทความด้านความปลอดภัย

การเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้ที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและอุบัติเหตุต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเองเสมอ อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อความปลอดภัยในที่ทำงานคือรองเท้าเซฟตี้ ด้วยสาเหตุนี้การเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้ที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่ง รองเท้าเซฟตี้จะมีหลากหลายทรง หลากหลายวัสดุ ขั้นตอนต่อไปนี้ช่วยคุณพิจารณาการเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้ประเภทต่างๆได้เหมาะสมมากขึ้น

1.วิเคราะห์ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

ก่อนที่คุณจะเลือกรองเท้าเซฟตี้ที่เหมาะสม ควรทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงานของคุณ เช่นการทำงานในโกดังสินค้า จะเกิดเหตุของหล่นทับเท้า การทำงานในพื้นที่เปียก อาจะเกิดเหตุการลื่นล้ม การทำงานในไซต์ก่อสร้าง อาจเกิดอุบัติเหตุการเหยียบตะปูหรือของมีคม เราจึงต้องเลือกใช้รองเท้าเซฟตี้ให้เหมาะสมกับลักษณะหน้างาน

2.วัสดุของรองเท้าเซฟตี้

รองเท้าเซฟตี้มีหลายประเภท ผลิตจากวัสดีที่แตกต่างกัน ซึ่งมีความเหมาะสมและคุณสมบัติการป้องกันที่ต่างกันด้วย เช่น

รองเท้าหนังเซฟตี้

จะทนทานต่อสถาพแวดล้อมและทำความสะอาดง่าย แข็งแรงทนทาน ส่วนใหญ่จะมีแบบหุ้มข้อและหุ้มส้น

บูทเซฟตี้ PVC

จะทนทานต่อสารเคมี เหมาะสำหรับานในห้องแล็บ ลักษณะเป็นบูททรงสูง ป้องกันของเหลวกระเด็นได้ดี

3.ความสบายในการสวมใส่

รองเท้าที่เซฟตี้ไม่สบายอาจทำให้คุณไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นควรเลือกรองเท้าที่มีความสบายเมื่อสวมใส่ เพราะต้องใส่เป็นระยะเวลานานตลอดการทำงานทั้งวัน

4.มาตรฐานความปลอดภัยของรองเท้าเซฟตี้

มาตรฐานต่างๆ สำหรับรองเท้านิรภัยมีไว้เพื่อให้แน่ใจว่ารองเท้ามีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานในสถานที่ทำงานที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังมีการประเมินความเหมาะสมของรองเท้าเซฟตี้ต่อตามงานที่ต้องทำ มาตรฐานความปลอดภัยแต่ละทวีปหรือประเทศอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่จุดประสงค์หลักคือการทดสอบว่ารองเท้ามีความปลอดภัยระดับไหน

EN ISO 20345

– มาตรฐานนี้จัดทำโดยสมาคมมาตรฐานยุโรป (European Committee for Standardization) และกำหนดข้อกำหนดที่ต้องการสำหรับรองเท้าเซฟตี้ที่ใช้ในสถานที่ทำงาน รวมถึงการทดสอบทางความทนทานและการทดสอบการป้องกันสารเคมี เช่น
SB: มาตรฐานพื้นฐานสำหรับรองเท้าเซฟตี้ หัวเหล็กรับแรงกระแทกได้ 200 จูล และรับแรงบีบ 15,000 นิวตัน
S1: เหมือนกับ SB เพิ่มเติมคือการดูดซับแรงกดที่เท้าขณะเดินหรือวิ่ง และต้านทานไฟฟ้าสถิต
S2: เหมือนกับ S1 แต่มีการป้องกันน้ำซึมเข้า
S3: เหมือนกับ S2 เพิ่มเติมคือป้องกันการเจาะทะลุ

ASTM F2413-18

– มาตรฐานของสมาคมวัสดุและทดสอบอเมริกา (ASTM International) มีรายละเอียดเกี่ยวกับรองเท้าเซฟตี้ที่ใช้ในสถานที่ทำงาน รวมถึงการทดสอบคุณสมบัติทางกลไกและคุณสมบัติทางเคมี เช่น
I/75 C/75: รองเท้าทนกระแทกแรง 75 ปอนด์ และรองเท้าทนแรงบีบ 75 ปอนด์
EH (Electrical Hazard): รองเท้าทนทานไฟฟ้าถึง 600 โวลต์ในสภาวะแหล่งไฟฟ้าที่แยกต่างหาก
PR (Puncture Resistant): รองเท้าทนทานการแทงทะลุ ทดสอบด้วยเข็มที่มีนความคับแน่น

AS/NZS 2210.3:2009 – มาตรฐานของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Australia/New Zealand) ที่กำหนดข้อกำหนดสำหรับรองเท้าเซฟตี้
S1, S2, S3: เป็นมาตรฐานเชิงรองรับการป้องกันการกระเด็น, การทนทานน้ำ, การทนทานการดีด, และการทนทานการแทงทะลุ

OSHA Standard 29 CFR 1910.136 – มาตรฐานของการจัดการความปลอดภัยและสุขภาพทางอาชีพ (Occupational Safety and Health Administration) ในสหรัฐอเมริกา กำหนดให้ลูกจ้างต้องสวมรองเท้าที่มีการป้องกันทางไฟฟ้าหรือป้องกันการกระเด็น

EH (Electrical Hazard) Rated – บางรองเท้าเซฟตี้ได้รับการจัดเป็น EH Rated ซึ่งหมายถึงมีการทดสอบและรับรองว่าสามารถป้องกันไฟฟ้าได้ตามมาตรฐาน

สรุป

การเลือกรองเท้าเซฟตี้ที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของคุณและรักษาความปลอดภัยของตนเองในทุกๆ ช่วงเวลาที่ทำงาน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่ตลอดเวลา การลงทุนกับรองเท้าเซฟตี้ นับว่าเป็นการลงทุนด้านความปลอดภัยที่คุ้มค่า หากเราเลือกรองเท้าเซฟตี้ที่คุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัย ย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพของการทำงานด้วย