OTST200 ชุดล้างตาฉุกเฉินแบบเคลื่อนย้ายได้พร้อมรถเข็น
STB100 อ่างล้างตาฉุกเฉินติดผนัง ABS
STE100 อ่างล้างตาฉุกเฉินตั้งพื้น ABS
STS100 ฝักบัวพร้อมอ่างล้างตาฉุกเฉิน ABS
B100 อ่างล้างตาฉุกเฉิน ABS
SS-E100 อ่างล้างตาตั้งพื้นชนิดมือผลัก แสตนเลส 304
SS-E150 อ่างล้างตาตั้งพื้น แสตนเลส
SS-S150 ฝักบัวพร้อมอ่างล้างตาฉุกเฉิน สแตนเลส
S250 ฝักบัวพร้อมอ่างล้างตาฉุกเฉิน ABS
EW6 ขวดล้างตาฉุกเฉิน 300ml.
อ่างล้างตาฉุกเฉิน
อ่างล้างตาฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในสถานที่ทำงานที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับกับสารเคมีหรืออาจกระเด็นเข้าสู่ดวงตา ทำให้สามารถล้างออกได้อย่างทันท่วงที อ่างล้างตาฉุกเฉินเป็นส่วนสำคัญของการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ทำงานที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัย
Emergency Eyewash TerySafe
มาตรฐาน ANSI Z358.1 เป็นมาตรฐานที่กำหนดข้อกำหนดสำหรับอ่างล้างตาฉุกเฉิน (Emergency Eyewash and Shower Equipment) เพื่อให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดในกรณีที่มีการทำงานมีโอกาสสัมผัสกับสารเคมีอันตราย
ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จำเป็นต้องติดตั้งอ่างล้างตาฉุกเฉิน
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 ระบุไว้ว่า นายจ้างต้องจัดให้มีที่ชำระสารเคมีอันตราย
ที่สามารถใช้ได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง:
- กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556
- ข้อกำหนดเกี่ยวกับอ่างล้างตาฉุกเฉิน: 2.1 การจัดให้มีอุปกรณ์ (ข้อ 11):
- นายจ้างต้องจัดให้มีที่ชำระล้างสารเคมีอันตราย ที่สามารถใช้ได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน
- อย่างน้อยต้องมีที่ล้างตาและฝักบัวชำระล้างร่างกายจากสารเคมีอันตราย
2.2 การเข้าถึง:
- ต้องสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและรวดเร็ว
- ระยะทางไม่ควรเกิน 30 เมตรจากจุดปฏิบัติงานที่เสี่ยง
- ต้องสามารถไปถึงได้ภายใน 10 วินาที
2.3 เส้นทาง:
- ต้องโล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง
- เป็นเส้นทางตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ
- ข้อกำหนดเพิ่มเติม:
- ต้องมีป้ายบอกตำแหน่งที่ชัดเจน
- น้ำที่ใช้ต้องสะอาดและมีแรงดันที่เหมาะสม
- ต้องสามารถทำงานได้ทันทีและต่อเนื่องโดยไม่ต้องใช้มือจับค้างไว้
- การบำรุงรักษา:
- ต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- ควรมีการทดสอบการทำงานเป็นประจำ
- การฝึกอบรม:
- พนักงานต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้งานอุปกรณ์
- ข้อพิจารณาเพิ่มเติม:
- ในพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีอันตรายสูง ควรติดตั้งอ่างล้างตาฉุกเฉินให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้
- อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ระหว่าง 15-35 °C
ขั้นตอนการบำรุงรักษา Emergency Eyewash
อุปกรณ์ล้างตาฉุกเฉิน หรือ Emergency Eyewash เป็นอุปกรณ์สำคัญในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินเมื่อมีสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา การบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องจำเป็น ขั้นตอนการบำรุงรักษามีดังนี้
- ตรวจสอบสภาพการทำงานของอุปกรณ์ล้างตาทุกสัปดาห์ โดยเปิดน้ำให้ไหลผ่านเพื่อดูความแรงของน้ำว่าเพียงพอหรือไม่ และตรวจสอบหัวจ่ายน้ำว่าไม่มีสิ่งอุดตัน
- ทำความสะอาดถ้วยล้างตา หัวจ่ายน้ำ หรือฝักบัว ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อราและการสะสมของสิ่งสกปรก
- สำหรับชุดล้างตาแบบเคลื่อนย้ายได้ควรเติมน้ำล้างตาลงในถังเก็บน้ำให้เต็มอยู่เสมอ และเปลี่ยนน้ำใหม่ทุก 120 วัน
- ตรวจสอบสภาพของชุดสายให้น้ำ ข้อต่อต่างๆ ว่าไม่มีการรั่วซึม แตกร้าว หรือชำรุดเสียหาย
- บันทึกการบำรุงรักษาไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง พร้อมทั้งระบุปัญหา การแก้ไข และผู้รับผิดชอบ
- การบำรุงรักษาอุปกรณ์ล้างตาฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็น ลดความเสี่ยงจากอันตรายต่อดวงตา และช่วยให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน
การใช้งานขวดน้ำล้างตา (Eyewash Bottle) กรณีสถานีล้างตาฉุกเฉิน (Eyewash Station) อยู่ไกล
ความปลอดภัยของพนักงานเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญของผู้ประกอบการ นอกจากการมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้ว จะต้องติดตั้งอุปกรณ์อย่างเหมาะสมด้วย เพื่อให้การปฐมพบาลในขั้นแรกสามารถหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บสาหัสของพนักงานได้
OSHA (Occupational Safety and Health Administration) 29 CFR 1910.151(c) อ้างถึงมาตรฐาน ANSI/ISEA Z358.1 (American National Standards Institute’s) ระบุไว้ว่าต้องติดตั้งสถานีล้างตาฉุกเฉินที่สามารถชำระล้างในอัตรา 0.4 แกลลอน (1.5 ลิตร) ต่อนาทีเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที โดยให้ตั้งอยู่ภายในระยะ 10 วินาทีหรือ 55 ฟุต (17 เมตร) จากจุดที่เสียงอันตราย
สำหรับการทำงานในบางกรณีที่เป็นงานชั่วคราวและเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก นายจ้างสามารถจัดหาขวดน้ำล้างตาในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับล้างตาในพี้นที่ทำงานให้เข้าถึงภายในระยะ 10 วินาทีได้ เช่น ภายนอกตัวอาคาร หรือทำงานภายในพื้นที่อับอากาศ โดยใช้ขวดน้ำล้างตาดังกล่าวเพื่อให้พนักงานสามรถเข้าถึงสถานีล้างตาฉุกเฉินที่สามารถล้างตาได้อย่างน้อย 15 นาทีได้