การจัดเก็บและกำจัดสารเคมีที่สามารถติดไฟได้นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องจากการจัดเก็บหรือกำจัด
ที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นส่วนที่จะทำให้เกิดอันตรายจากไฟได้ ของเหลวที่ติดไฟได้นั้นควรมีวิธีการจัดเก็บที่ถูกต้องตามกระบวนการด้วย safety container
การจัดเก็บและกำจัดสารไวไฟที่ไม่ได้มาตรฐานนั้นเป็นต้นเหตุของการเกิดความเสียหายจากไฟซึ่งได้ ตามที่กล่าวไว้ใน OSHA
ขั้นตอนการจัดเก็บสารเคมีไวไฟ
- ใช้ภาชนะจัดเก็บมาตรฐาน (Safety Container) ที่มีระบบป้องกันไฟไหม้และระบายความดันภายในถัง
- ติดตั้งสายดินและสายเชื่อมต่อระหว่างภาชนะ ป้องกันการเกิดประกายไฟและไฟฟ้าสถิตย์
- ใช้กรวยพิเศษที่มีตัวกระจายความร้อน (Flame Arrester) ระบบป้องกันไฟด้วยการปิดอัตโนมัติที่อุณหภูมิสูง
- เลือกท่อของกรวยให้มีความยาวเหมาะสมกับความหนืดของสารเคมี
- ใช้ถังกำจัดที่มีสายเชื่อมต่อระบบปิดกับอุปกรณ์อื่น เช่น HPLC เพื่อป้องกันการระเหย
- เลือกขนาดถังให้เหมาะสมกับปริมาณสารที่ต้องกำจัด
- ระบบมีวาล์วควบคุมการไหลเพื่อป้องกันการรั่วไหล
สรุปได้ว่า การจัดเก็บและกำจัดสารเคมีไวไฟต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย มีระบบป้องกันอันตรายจากไฟ ความร้อน การระเบิด พร้อมระบบปิดเพื่อป้องกันการระเหยของสาร โดยปฏิบัติตามขั้นตอนและรายละเอียดอย่างเคร่งครัด
อุปกรณ์ต่างๆในการจัดเก็บสารเคมี ของ Justrite
- กระป๋องกำจัดสารเคมี (Safety disposal cans)
กระป๋องจะมีตั้งแต่ปากกระป๋องใหญ่จนถึงเล็กเพื่อป้องกันการหกของสาร
เคมีระหว่างใช้งาน ฝาจะเปิดปิดได้ง่ายภายในมีตัวกระจายความร้อน
(Flame arrester) และสามารถระบายออกได้อัตโนมัติเพื่อป้องกัน-
การระเบิด กระป๋องมีให้เลือก 2 ขนาด คือ 2 และ 5 แกลอน
- กระป๋องกำจัดสารเคมีแบบมีสายส่งผ่าน (Safety disposal cans with quick disconnect fittings)
ใช้สำหรับการทำงานที่ต้องการจ่ายสารเคมีใก้กับเครื่องทดสอบ
HPLC โดยกระป๋องจะมีสายส่งเส้นเล็กทำจากสแตนเลสสตีล
หรือโพลีเอทีลีนต่อระหว่างกระป๋องกับเครื่องทดสอบ HPLC
ซึ่งเป็นระบบปิดและยังทำหน้าที่เป็นวาล์วเพื่อป้องกันการระเหย
หรือการรั่วไหลระหว่างกระบวนการ justrite มีให้เลือก 3 ขนาด
คือ 1,2 และ 5 แกลอน ซึ่งการเลือกใช้ขึ้นอยู่หน้างาน