หมวกนิรภัย
หมวกนิรภัยหรือหมวกเซฟตี้ เป็นอุปกรณื PPE ช่วยป้องกันศีรษะของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจึงควรสวมใส่หมวกนิรภัยตลอดเวลาการทำงาน
หมวกนิรภัยหรือหมวกเซฟตี้ เป็นอุปกรณื PPE ช่วยป้องกันศีรษะของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจึงควรสวมใส่หมวกนิรภัยตลอดเวลาการทำงาน
แว่นตาเซฟตี้หรือแว่นตานิรภัยเป็นอุปกรณ์ PPE ช่วยป้องกันดวงตาของผู้ปฏิบัติงาน แว่นตาเซฟตี้แบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะงาน คือ ป้องกันวัสดุของแข็งกระเด็นเข้าสู่ดวงตา ตัวแว่นจะมีแผ่นกระบังด้านข้าง และงานป้องกันสารเคมี มีลักษณะเป็นครอบตา เพื่อป้องกันของเหลว
ปลั๊กอุดหู (Ear Plug) และ ที่ครอบหู (Earmuff) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลดเสียงรบกวน (NRR) เพื่อป้องกันหูจากเสียงที่ดังเกินไป จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในบริเวณที่มีเสียงดังเกินปกติเป็นเวลานานๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักร งานก่อสร้าง
หน้ากากเป็นอุปกรณ์ PPE ช่วยป้องกันระบบหายใจ งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี,สารระเหย และฝุ่น จำเป็นต้องสวมหน้ากากป้องกันสารเคมีในการทำงาน และต้องหมั่นตรวจสอบสภาพไส้กรอง เมื่อมีกลิ่นเข้า ต้องรีบเปลี่ยนไส้กรองใหม่ทันที
ถุงมือนิรภัยเป็นอุปกรณ์ PPE ชนิดหนึ่งซึ่งจะช่วยปกป้องมือของผู้ปฏิบัติงาน ถุงมือนิรภัยแบ่งประเภทตามลักษณะงานที่ต้องใช้ เช่น ถุงมือป้องกันสารเคมี ถุงมือกันบาด ถุงมือกันความร้อน งานต่างๆย่อมมีอันตรายที่แตกต่างกัน จึงต้องเลือกใช้ถุงมือนิรภัยให้ถูกต้องตามลักษณะงาน ถุงมือป้องกันสารเคมี มีหลายประเภท เช่น ถุงมือป้องกันสารเคมีวัสดุยางไนไตรคุณภาพสูง ป้องกันสารเคมีได้ดี
รองเท้านิรภัยเป็นอุปกรณ์ PPE ที่ช่วยป้องกันเท้าของผู้ปฏิบัติงาน ในกรณีอยู่ในพื้นที่เสี่ยงของตกใส่เท้า การเหยียบของแหลมหรือของมีคม ทะลุฝ่าเท้า อุบัติเหตุดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยการสวมใส่รองเท้าเซฟตี้หัวเหล็ก หรือรองเท้าเซฟตี้พื้นเหล็ก
ชุดป้องกันสารเคมี ใช้สำหรับงานที่ต้องปฏิบัติงานอยู่กับสารเคมีอันตราย จึงต้องสวมใส่ชุดป้องกันสารเคมี ไม่ให้สารเคมีสัมผัสกับร่างกายผู้ปฏิบัติงาน ชุดป้องกันสารเคมี มีทั้งแบบสำหรับสารเคมีทั่วไป สามรถซักทำความสะอาดได้ และแบบชุดป้องกันสารเคมีร้ายแรง แบบใช้แล้วทิ้ง
อุปกรณ์ป้องกันการตก (Fall Protection) เป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันอันตรายจากงานในที่สูง เช่น การทำงานบนนั่งร้าน หรือปีนเสา ประกอบด้วยชุดกันตก (Harness) สายช่วยชีวิต (Lanyard) หรืออุปกรณ์โรยตัวบนที่สูงอื่นๆ
หน้าที่ของอุปกรณ์ล็อคคือ การป้องกันการเปิด/ใช้งานสวิทต์ ที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน เช่นงานซ่อมบำรุง จะต้องมีระบบตัวล็อคเบรกเกอร์ป้องกันการทำงานของเครื่องจักร และแขวนป้ายเตือนให้เรียบร้อย ซึ่งอุุปกรณ์ล็อคเพื่อความปลอดภัย และแม่กุญแจ ยี่ห้อ Master Lock มาสเตอร์ล็อค นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในอเมริกา เป็นผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ล็อคและแม่กุญแจที่ได้มาตรฐาน OSHA
คัทเตอร์นิรภัย คัทเตอร์เซฟตี้ยี่ห้อ MARTOR เป็นคัทเตอร์สำหรับงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้คัทเตอร์สำหรับกรีดกล่องกระดาษ หรือถุงวัตถุดิบ คัทเตอร์นิรภัยทุกรุ่นสามารถเก็บใบมีดได้เองเมื่อตัดชิ้นงานเสร็จ ช่วยให้ลดอุบัติเหตุจากากรถูกใบมีดบาด ใบมีดลักษณะชิันเดียว จึงไม่สามารถหักและปะปนไปกับสินค้าได้
อ่างล้างตาฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ส่งน้ำสำหรับชำระล้างการปนเปื้อนของสารเคมีที่ใบหน้า ดวงตา หรือร่างกาย โดยมีวาล์วเปิดน้ำแบบมือผลักหรือเท้าเหยีบบ แทนวาล์วก๊อกแบบทั่วไป เพื่อให้สามารถเปิดน้ำได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยทั่วไป มาตรฐาน ANSI กำหนดให้จุดติดตั้งอ่างล้างตาฉุกเฉินต้องตั้งอยู่ ในจุดที่เข้าถึงได้ด้วยการเดินภายใน 10 วินาที (ระยะประมาณ 55 ฟุต หรือ 16.5 เมตร) โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
สารเคมีอันตรายเป็นสิ่งอันตรายที่ต้องมีการจัดเก็บอย่างถูกต้อง ตู้จัดเก็บสารเคมี JUSTRITE ออกแบบให้อุณหภูมิภายในตู้ไม่เกิน 162°C (325°F) ซึ่งครอบคลุมอุณหภูมิที่ทำให้เกิดการจุดระเบิดของสารเคมีได้ 99% โดยที่บานประตู บานพับต่างๆ ยังคงปิดแนบสนิทอยู่ได้ เมื่อถูกไฟเผาเป็นเวลา 10 นาที เพื่อให้มีเวลาสำหรับพนักงานได้ออกจากพื้นที่อย่างปลอดภัย และมีเวลาให้ระบบดับเพลิงแบบสปริงเกลอร์ได้ทำการดับเพลิงดังกล่าว (ถ้ามี)
หากมีสารเคมีหกหรือรั่วไหล ต้องใช้อุปกรณ์ดูดซับสารเคมี NEWPIG เพื่อทำความสะอาดและกักเก็บอย่างถูกต้อง ไม่ให้สารเคมีอันตรายปะปนไปทำกับน้ำเสียตามธรรมชาติ
ไฟฉายกันระเบิด PELICAN ได้รับมาตรฐานป้องกันระเบิดและไม่เกิดประกายไฟ สามารถใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงได้ ไฟฉายกันระเบิด PELICAN มีหลายขนาดให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะพิ้นที่ปฏิบัติงานของคุณ
ป้ายความปลอดภัย คือป้ายที่ใช้สัญลักษณ์ภาพหรือข้อความที่เป็นมาตรฐานสากลในการสื่อความหมายเพื่อแจ้งเตือน ห้าม หรือบังคับให้พนักงานหรือบุคคลภายนอกได้ทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
อุปกรณ์งานดับเพลิงที่มีมาตรฐานรับรอง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงงานและบริษัทห้างร้าน เนื่องจากตามข้อกฏหมายบังคับ อีกทั้งเราจะควรจะตรวจสอบดูแลบำรุงรักษา อุปกรณ์งานดับเพลิงให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้เสมอ
เครื่องตรวจวัดแก๊สเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการทำงานในพื้นที่อับอากาศและพื้นที่เสียงต่อก๊าซไวไฟถ้าไม่ตรวจเช็คก่อนปฏิบัติงานอาจอันตรายถึงชีวิต เครื่องตรวจวัดแก๊สมีทั้งแบบชนิดแก๊สเดี่ยวและ 4 แก๊สขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ
เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในโรงงานของคุณ ควรป้องกันไม่ให้มีการเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้นกับของเหลวที่สามารถติดไฟได้ เพราะไฟฟ้าสถิตย์อาจะทำให้เกิดประกายไฟ ซึ่งเป็นอันตรายเมื่ออยู่ใกล้กับสารเคมีไวไฟ เราจึงจำเป็นต้องติดตั้งสายดินบริเวณตู้เก็บสารเคมี ในส่วนของการถ่ายเทของเหลวไวไฟประเภท 1 (Class I) จากภาชนะที่จัดเก็บไว้ในตู้จัดเก็บสารเคมีจะต้องต่อสายดินที่ตู้ และแนะนำให้มีการต่อสายดินที่ตู้นิรภัยเมื่อถ่ายเทของเหลวที่ติดไฟได้ประเภท 2 (Class II) ในกรณีที่ของเหลวอยู่ใกล้สถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับอุณหภูมิที่ก่อให้เกิดจุดวาบไฟของของเหลว
เมื่อมีการต่อสายดินตู้เก็บสารเคมี Justrite จะต้องต่อสายดินทั้งภายในและภายนอกตู้ ในส่วนของการต่อสายดินภายนอกตู้นิรภัย ให้ติดตั้งสกรูสายดินของตู้จัดเก็บสารเคมีไว้ใต้จุดสีเขียวที่อยู่ทางด้านขวามือของตู้ โดยใช้ประแจหรือตัวขันน็อตขนาด 5/16″ (8 มม.) เพื่อคลายสกรูออก ก่อนจะทำการติดตั้งสายดินและขันสกรูให้แน่นตามเดิม นำปลายอีกด้านของสายดินติดเข้ากับดินบัส หรือแท่งดิน โดยจะต้องเดินสายดินจากตู้นิรภัยลงที่พื้นดิน
สำหรับการต่อสายดินภายในตู้จัดเก็บสารเคมี เมื่อมีการถ่ายเทของเหลวภายในตู้นิรภัย สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมื่อต่อสายดินไปแล้ว ไฟฟ้าสถิตจะสามารถถ่ายเทได้ดีผ่านหน้าสัมผัสระหว่างโลหะกับโลหะหรือไม่ สำหรับผลิตภัณฑ์ไหนที่มีการทาสี ให้ทำการลอกสีออกบางส่วนออกก่อนเพื่อให้สายดินนั้นสัมผัสกับโลหะได้โดยตรง
สำหรับที่หนีบสายดินบางอันได้มีการออกแบบมาให้มีลักษณะเป็นปลายแหลมหรือฟันแหลมคมนั้น เพื่อใช้สำหรับเจาะทะลุสีบนตัวผลิตภัณฑ์ โดยทำการขยับที่หนีบไปมาจนกว่าคุณจะแน่ใจว่าจุดที่แหลมคมของที่หนีบดินได้ทะลุสีและสัมผัสกับเนื้อโลหะแล้ว และเพื่อเพื่อความปลอดภัยให้ขัดสีบริเวณเล็กๆ ที่ติดที่ที่หนีบดินออก
– ให้ใช้สายดินที่มีจำหน่ายทั่วไปที่มีมาตรฐาน เนื่องจากมีความทนทานและผลิตขึ้นโดยเฉพาะสำหรับงานบริการทางด้านอุตสาหกรรม
– ควรทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการเชื่อมต่อสายดินทั้งหมดแน่นหนาแล้ว
– หลังจากได้ทำการเชื่อมต่อสายดินแล้ว ให้ทดลองทำการดินด้วยตัวเอง โดยการสัมผัสที่สายดินก่อนทำการเปิดภาชนะ
การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เหล่านี้สามารถช่วยให้คุณปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ เมื่อมีการจ่ายของเหลวไวไฟประเภท 1 และช่วยลดโอกาสที่จะเกิดไฟฟ้าสถิตและการจุดติดไฟของไอระเหยที่เป็นอันตราย
No account yet?
Create an Account