ทำไมต้องใช้ไฟฉายกันระเบิด การทำงานในพื้นที่เสี่ยงต่อการระเบิดและไฟไหม้ เช่น โรงน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี โรงานผลิตแก๊ส/ไฟฟ้า หรือแม้แต่โรงงานที่มีผงฝุ่นเยอะ เช่นโรงงานผลิตแป้ง จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติงานเป็นอย่างสูง เพราะมีความเสี่ยงการขึ้นทุกเวลา ไฟฉายกันระเบิด (Explosion Proof Flashlight) จึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ซึ่งใช้แทนไฟฉายปกติ ฟังค์ชั่นการทำงานของไฟฉายกันระเบิด จะมีการทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ ให้เหมาะกับพื้นที่ปฏิบัติงานที่ต่างกัน
การทำงานของไฟฉายกันระเบิด ไฟฉายกันระเบิดจะมีฟังชั่นที่ไฟฉายทั่วไปไม่มี คือการดีดหลอดไฟออกจากขั้วเมื่อมีการตกกระแทก โดยบริเวณขั้วหลอดไฟจะมีสปริงอยู่ หากมีการตกหรือกระแทกจนกระจกโคมแตก สปริงจะดันหลอดไฟออกจากขั้วทันที ซึ่งถ้าเป็นไฟฉายทั่วไปหลอดจะยังค้างอยู่ในขั้ว ทำให้เกิดประกายไฟได้
การเลือกใช้งานไฟฉายกันระเบิด ไฟฉายกันระเบิดจะมีรายละเอียดการเลือกใช้ตามมาตรฐานที่ได้รับการทดสอบจะแยกเป็น Class , Div, และ Group ต่างๆ ซึ่งจะระบุไว้บนตัวไฟฉายไว้ดังนี้
Class 1 Division 1 : ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีแก๊สหรือไอระเหยผสมอยู่ในบรรยากาศด้วยความเข้มข้นที่จุดติดไฟได้เป็นประจำ เช่นภายในถังบรรจุสารไวไฟ ที่อับอากาศ จุดถ่ายเทสารไวไฟ
Class 1 Division 2 : ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีแก๊สหรือไอระเหยผสมอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น พื้นที่มีการใช้สารไวไฟ แต่ปกติจะไม่รั่วไหล แต่อาจเกิดอุบัติเหตุการรั่วไหลของแก๊สหรือสารไวไฟ
และมีการแบ่ง Group ตามประเภทสารที่ทำให้เกิดระเบิดและไฟไหม้ดังนี้
Typical Material
|
มาตรฐาน IEC และ CENELEC
|
มาตรฐาน NEC 500 และ CEC
|
Acetylene
|
Group IIC
|
Class I / Group A
|
Hydrogen
|
Group IIC
|
Class I / Group B
|
Ethylene
|
Group IIB
|
Class I / Group C
|
Propane
|
Group IIA
|
Class I / Group D
|
Methane
|
Group I
|
Gaseous Mines
|
Metal Dust
|
-
|
Class II / Group E
|
Coal Dust
|
-
|
Class II / Group F
|
Grain Dust
|
-
|
Class II / Group G
|
Fibers
|
-
|
Class III
|

|